อาการคันในสุนัข เป็นเรื่องปกติหรือไม่!?

สำหรับคนเราแล้ว อาการคันที่เกิดกับผิวหนังดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติที่เห็นกันอยู่เป็นประจำ เมื่อเราเห็นน้องหมามีอาการคัน เราจึงมักคิดว่าอาการนี้ไม่ใช่เรื่องที่ร้ายแรง แม้ว่าอาการคันสามารถหายได้เองก็จริง แต่ในบางกรณีอาการคันอาจมีสาเหตุมาจากโรคผิวหนังที่กำลังก่อตัวขึ้น ดังนั้นอาการคันจึงไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่มาพร้อมกับความไม่สบายตัวเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปสู่การเกิดภาวะอักเสบของผิวหนังอย่างรุนแรงได้อีกด้วย การวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการคันจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เจ้าของจึงควรทำความเข้าใจเรื่องอาการคันของน้องหมา เพื่อหาวิธีแก้ไขได้อย่างถูกต้องต่อไป

น้องหมาของคุณมีพฤติกรรมแบบนี้กันบ้างหรือเปล่า

สัญญาณบ่งบอกถึงอาการคันของสุนัขที่ควรตระหนักถึง

  1. 01 ชอบเลียตัวเอง
    เลีย
  2. 02 กัด/แทะตามตัว
    กัด/แทะ
  3. 03 ชอบเกา
    เกา/ตะกุย
  4. 04 เอาตัวแนบถูไถ
    เอาตัวแนบถูไถ

แล้วเราจะปล่อยให้น้องหมาคันแบบนี้ต่อไปจริงๆ หรือ?

โรคที่ทำให้เกิดอาการคันในสุนัขมีอะไรบ้างนะ

โรคที่ทำให้น้องหมาเกิดอาการคันได้นั้นมีอยู่มากมาย ยิ่งเรารู้สาเหตุได้เร็วเท่าไหร่

ก็ยิ่งรักษาได้เร็วเท่านั้น โดยโรคที่ทำให้เกิดอาการคันในน้องหมาที่พบได้บ่อยๆมีดังต่อไปนี้

โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ในน้องหมาเกิดจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ (allergen) บางชนิดมากเกินไป ที่พบได้บ่อย คือ โรคภูมิแพ้ผิวหนัง

(atopic dermatitis) ที่มีลักษณะเฉพาะคือน้องหมาจะมีอาการคันมาก แต่หากร่างกายไม่ได้รับการกระตุ้นจาก allergen น้องหมาก็จะไม่แสดงอาการคันเลย

โดยสารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยในสิ่งแวดล้อม เช่น ไรฝุ่นภายในบ้าน (house dust mite), เกสรดอกไม้ เป็นต้น

ไรฝุ่น

ภูมิแพ้ผิวหนัง
(Atopic dermatitis)

สาเหตุเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เป็นตัวกระตุ้น เช่น ไรฝุ่นภายในบ้าน เกสรดอกไม้

ดูเพิ่มเติม
อาหาร

โรคภูมิแพ้อาหาร
(Food allergy)

ปฏิกิริยาการแพ้ที่เกิดจากการตอบสนองที่มากเกินของร่างกายต่อโปรตีนบางชนิดที่เป็นส่วนประกอบของอาหาร

ดูเพิ่มเติม
หมัด

โรคภูมิแพ้น้ำลายหมัด
(Flea bite allergy)

เกิดจากการแพ้น้ำลายหมัด จะพบว่ามีขนร่วง และมีอาการคัน มักพบรอยโรคที่บริเวณเอวไปจนถึงส่วนหลัง

ดูเพิ่มเติม
ไรขี้เรื้อน

ไรขี้เรื้อน
(Scabies)

มีสาเหตุมาจากไรขี้เรื้อน ซึ่งทำให้สุนัขมีอาการคันอย่างรุนแรง

ดูเพิ่มเติม

โรคผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อ

อาจเกิดจากเชื้อยีสต์ แบคทีเรีย เชื้อรา ปรสิต หรือติดเชื้อจากหลายสาเหตุ ซึ่งหากรักษาตรงตามสาเหตุ ก็จะช่วยให้อาการคันหายไปได้

รูปแบบของโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อมีอยู่ 2 แบบ ดังนี้

  • แบบมีตุ่มหนอง (pyoderma)

    มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทรงกลมที่ชื่อว่า Staphylococcus pseudointermedius ผิวหนังจะอักเสบแดง มีสะเก็ดรังแค ทำให้เกิดอาการคัน

  • แบบผิวหนังเปียกเยิ้ม

    มักเกิดจาการติดเชื้อยีสต์ชื่อ Malassezia spp. ทำให้ผิวหนังเกิดความมันเหนียว มีรังแค และคัน

อาการคันที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ

นอกเหนือจากโรคที่ได้กล่าวมาแล้ว น้องหมาอาจจะมีอาการคันได้จากโรคอื่นๆ อีกได้ เช่น โรค Pemphigus ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากปัญหาระบบภูมิคุ้มกันในตัวสุนัขเอง หรือโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในสุนัขก็สามารถทำให้เกิดอาการคันได้ นอกจากนี้เราต้องแยกแยะสุนัขที่ไม่ได้มีอาการคันจริงๆ แต่แสดงพฤติกรรมเหมือนว่าคัน ตัวอย่างเช่น เมื่อสุนัขได้รับบาดเจ็บจากการโดนเสี้ยน/หนามตำที่ขา เขาก็มักจะเลียบริเวณนั้น หรือเมื่อสุนัขมีปัญหาไขข้ออักเสบ สุนัขอาจจะเลีย/เกา/ไถตรงบริเวณที่มีปัญหาได้ แต่ไม่ว่ากรณีใด หากสุนัขยิ่งเลีย ยิ่งเกา ก็จะยิ่งทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบมากขึ้น และจะยิ่งคันมากขึ้นไปอีก

  • โรค Pemphigus
  • โรคมะเร็ง
  • โรคที่เกิดจากปัญหาทางจิต

ทำไมโรคต่างๆ ถึงทำให้เกิดอาการคัน

เมื่อสุนัขเกิดอาการคันโดยมีสาเหตุจากโรคผิวหนังต่างๆ สุนัขจะเริ่มแสดงพฤติกรรมการกัด เลีย ถูร่างกายในส่วนนั้น ทำให้ผิวหนังเกิดการถลอก ส่งผลให้ปราการที่ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมจากนอกร่างกายมีประสิทธิภาพลดลง กระบวนการอักเสบจึงรุนแรงยิ่งขึ้น สุนัขจึงยิ่งคันมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตัดวงจรของอาการคันให้ได้เร็วที่สุด

การรักษาอาการคันของน้องหมาทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค ซึ่งควรได้รับการวินิจฉัยจากสัตวแพทย์

สิ่งที่สำคัญคือต้องตัดวงจรของอาการคันให้ได้ โดยวงจรอาการคันของน้องหมามีดังนี้

วงจรของอาการคันในสุนัข

  • แสดง
    พฤติกรรม
    เกา ถู
    เลีย

  • กระบวนการ
    อักเสบ
  • เส้นประสาท
    ถูกกระตุ้น
    ทำให้เกิดความ
    รู้สึกคัน
  • การคัน
  • รอยแผลจากการเกา
  • การอักเสบของผิวหนัง
  • ผิวหนังแดง
  • ขนร่วง หรือขนบางลง
  • ผิวหนังมีสีคล้ำมากขึ้นกว่าปกติ

คันมากแค่ไหน จึงควรไปพบคุณหมอ

หลายคนอาจสงสัยว่าน้องหมาต้องมีอาการคันแค่ไหนถึงจะอันตราย เรามีวิธีการดูง่ายๆ 8 ข้อ

ถ้าพบว่าน้องหมาของคุณมีอาการใดใน 8 ข้อนี้ ถือว่ามีอาการคันรุนแรง ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ได้เลย

  1. 01 มีอาการคันจนนอนไม่หลับในเวลากลางคืน
  2. 02 มีอาการคันแม้เวลาเล่น เดินเล่น หรือทานอาหาร
  3. 03 ผิวหนังแดง เป็นผื่นนูนแดง มีสะเก็ดรังแค มีเลือดออกเป็นจุด หรือเป็นปื้นเลือดร่วมกับการติดเชื้อที่ผิวหนัง
  4. 04 ผิวหนังมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เช่น เหนียวเหนอะหนะ หรือมีขนร่วงมากกว่าปกติ
  5. 05 ผิวหนังมีกลิ่นที่ผิดปกติไปจากเดิม
  6. 06 มีอาการคันที่แย่ลงไปเรื่อยๆ
  7. 07 มีอาการคันหู หูมีหนองไหลออกมาและมีกลิ่นเหม็น
  8. 08 มีการเการอบดวงตา (ถ้าพบว่าน้องมีอาการนี้ เจ้าของควรระมัดระวังการเกิดแผลที่กระจกตาเนื่องจากการเกา)

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากสิ่งที่ยกมานี้ก็ยังมีอาการคันอื่นๆ ที่เจ้าของไม่ควรปล่อยปละละเลย และควรพาน้องหมาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป

นอกจากนี้ เจ้าของสามารถประเมินอาการคันของน้องหมาได้ด้วยตัวเอง

โดยให้คะแนนระดับความคันตามคำจำกัดความต่อไปนี้

เพื่อที่จะได้อธิบายระดับความคันของน้องหมาให้สัตวแพทย์ได้ทราบและเข้าใจอย่างละเอียดมากขึ้น

คัน...

แค่ไหนถามใจดู

เกา/ตะกุย
เกา/ตะกุย
10

คันรุนแรงมาก (Extremely severe itching)

สุนัขมีอาการคันอย่างรุนแรงต่อเนื่องตลอดเวลา โดยแสดงอาการเกา แทะ หรือเลียทั่วร่างกายไม่หยุด

8

คันมาก (Severe itching)

สุนัขแสดงอาการคันเกือบตลอดเวลา ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน รวมถึงขณะกิน เล่น ออกกำลังกาย แม้ถูกเบี่ยงเบนความสนใจก็ยังแสดงอาการคัน

6

คันปานกลาง (Moderate itching)

สุนัขแสดงอาการคันเป็นช่วงๆ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน แต่ไม่พบในขณะกิน เล่น ออกกำลังกาย แม้ถูกเบี่ยงเบนความสนใจก็ไม่แสดงอาการคัน

4

คันเล็กน้อย (Mild itching)

สุนัขแสดงอาการคันบ้าง พบได้เป็นครั้งคราวในช่วงเวลากลางคืน แต่ไม่พบในขณะกิน เล่น ออกกำลังกาย แม้ถูกเบี่ยงเบนความสนใจก็ไม่แสดงอาการคัน

2

คันน้อยมาก (Very mild itching)

สุนัขเริ่มแสดงอาการคัน แต่อาจยังไม่พบความผิดปกติที่ผิวหนัง

0

สุนัขปกติ (Normal Dog)

สุนัขไม่แสดงอาการคัน

อ้างอิงจาก

Hill PB, Lau P. Rybnicek J. Development of an owner-assessed scale to measure the severity of pruritus in dogs. Vet Dermatol. 2007:18:301-308.

กัด/แทะ
กัด/แทะ
กัด/แทะ