การรักษาอาการคันในสุนัข

สิ่งแรกที่ควรทำคือพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์

ยิ่งวินิจฉัยสาเหตุได้เร็ว สุนัขก็จะได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้รักษาหายได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ถ้าปล่อยให้อาการลุกลามหรือเป็นหนักแล้ว

อาจจะต้องใช้ระยะเวลารักษานานและรักษาได้ยากขึ้นอีกด้วย

  1. 01

    ตรวจพบเร็ว รักษาได้เร็ว

    อาการคันของสุนัขจึงเป็นสิ่งที่เจ้าของไม่ควรละเลย เมื่อวงจรของการคันได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากสัตวแพทย์ เนื่องจากสาเหตุของอาการคันที่ซ่อนอยู่นั้น อาจรุนแรงถึงขั้นมะเร็งผิวหนังที่เป็นอันตรายถึงชีวิตก็เป็นได้

  2. 02

    สัตวแพทย์เท่านั้นที่จะสามารถตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการคันได้

    ที่สำคัญเลยคือเจ้าของไม่ควรทดลองรักษาหรือซื้อยามาป้อนสุนัขด้วยตนเอง เนื่องจากการรักษาผิดวิธีอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิมได้ ดังนั้นจึงควรปรึกษาและรับฟังคำแนะนำจากสัตวแพทย์เกี่ยวกับข้อดีและข้อจำกัดของยาที่เลือกใช้

  3. 03

    เจ้าของสุนัขควรเข้ารับการปรึกษาจากสัตวแพทย์ถึงข้อดี และข้อควรระวังในการใช้ยา

    เมื่อสุนัขได้รับยารักษาอาการคัน มักจะเห็นผลได้อย่างรวดเร็ว แต่ผลข้างเคียงจากยาดังกล่าวก็มีอยู่มากเช่นกัน ดังนั้นเจ้าของควรรับทราบถึงอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับยา เพื่อแยกแยะออกจากอาการผิดปกติของตัวสุนัขเอง

กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาอาการคันที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ในสุนัข

(*ยาต้องได้รับการสั่งจ่ายโดยสัตวแพทย์เท่านั้น)

ยากลุ่มสเตียรอยด์

เป็นยาที่มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมน Adrenocortical ในร่างกายสุนัข ดังนี้

การออกฤทธิ์

  1. 01 ลดการอักเสบ
  2. 02 กดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

สเตียรอยด์ชนิดกิน รูปแบบเม็ด

ยาเม็ด

ยาเม็ด

ข้อดี
ได้ผลเร็ว ราคาไม่แพง
ข้อควรระวัง
ก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากยาได้ง่าย แม้จะได้รับในช่วงเวลาสั้นๆ

ยากลุ่มสเตียรอยด์ชนิดกิน ที่รู้จักกันส่วนมากคือ prednisolone หรือ methylprednisolone เป็นยาที่ออกฤทธิ์ระงับอาการคันได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมใช้มาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตามการได้รับยากลุ่มนี้ติดต่อกันนานๆ มักก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ต่อมหมวกไต ผิวหนัง กล้ามเนื้อ ฯลฯ หรือมีอาการผิดปกติ เช่น กินน้ำมากและปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ อยากอาหาร น้ำหนักเพิ่ม ค่าเอนไซม์ตับในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันทำงานน้อยลง เป็นต้น

สเตียรอยด์ชนิดใช้ภายนอก รูปแบบทา/สเปรย์พ่น

ยาแบบสเปรย์พ่น

ยารูปแบบสเปรย์พ่น

ยาแบบสเปรย์พ่น

ยารูปแบบทา

ข้อดี
ปลอดภัยกว่าการใช้ยาชนิดกิน
ข้อควรระวัง
ไม่เหมาะในการใช้รักษาระยะยาว

ยากลุ่มสเตียรอยด์ชนิดใช้ภายนอก เป็นที่นิยมในทางการแพทย์ของคนเพื่อรักษาอาการภูมิแพ้ผิวหนัง แต่สำหรับในสุนัขที่มีขนยาวปกคลุมมากกว่ามนุษย์ การใช้ยาแต้มที่มีความหนืดมากจึงใช้ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้ ประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนายากลุ่มสเตียรอยด์ออกมาในรูปแบบของสเปรย์พ่นที่เหมาะสมต่อการใช้งานในสุนัข สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างตรงจุดและปลอดภัยกว่าการให้ยากิน แต่การใช้ยารูปแบบสเปรย์เป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจทำให้เกิดผลค้างเคียงต่อผิวหนังบริเวณนั้นได้เช่นกัน คือ ผิวหนังจะบางลงและเกิดรังแค ที่เรียกว่า “steroid dermatosis”

steroid effect

อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์

กัด/แทะ กินน้ำเยอะ สุนัขจะกินน้ำในปริมาณที่มากขึ้นหรือบ่อยขึ้นในแต่ละวัน
กัด/แทะ กินอาหารเยอะ สุนัขจะมีความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น และมักจะตามมาด้วยพฤติกรรมการแอบขโมยของกินหรือขออาหารจากเจ้าของบ่อยๆ น้ำหนักของสุนัขก็มักจะเพิ่มขึ้นตามมาด้วย
เจ้าของจะต้องหมั่นสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้ด้วย เพื่อที่จะได้รีบพาน้องหมาไปพบสัตวแพทย์ได้ทันท่วงที
กัด/แทะ ปัสสาวะเยอะ เป็นผลเนื่องมาจากการที่สุนัขกินน้ำเยอะ จึงทำให้สุนัขมีการปัสสาวะที่ถี่มากขึ้น หรือปริมาณมากขึ้นในแต่ละวัน
กัด/แทะ มีความเครียดและความกังวล สุนัขบางตัวอาจมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดจากความเครียดหรือวิตกกังวลที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับยาสเตียรอยด์

ยารักษาอาการคันชนิดใหม่

แม้ว่ายากลุ่มสเตียรอยด์จะให้ผลดีในการรักษาและราคาไม่แพง แต่ก็ยังคงมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างอันตราย

ดังนั้นยาชนิดใหม่ที่มีผลข้างเคียงน้อยจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในการรักษาอาการคัน ซึ่งมีดังต่อไปนี้

*การเลือกใช้ยาชนิดใดก็ตาม ขึ้นกับดุลพินิจของสัตวแพทย์ อาการ และสภาพร่างกายของสัตว์

ยาแก้คันรูปแบบใหม่ชนิดเม็ด

ยาเม็ด

ยาเม็ด

ข้อดี
ได้ผลดี มีความปลอดภัยสูง สามารถใช้ในการรักษาระยะยาวได้
ข้อควรระวัง
ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ คือ อาเจียน และท้องเสีย

จัดเป็นยาในกลุ่ม Janus kinase inhibitor สามารถควบคุมอาการคันได้รวดเร็วตั้งแต่ 4 ชั่วโมงหลังได้รับยา สามารถใช้รักษาระยะยาวได้ มีความปลอดภัยสูง ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และจัดอยู่ในข้อแนะนำสำหรับการรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนังในสุนัข (guidelines for treatment of canine atopic dermatitis) ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ คือ อาการอาเจียนและท้องเสีย แต่ไม่รุนแรงมากนัก สามารถใช้รักษาได้ทั้งอาการคันจากภาวะภูมิแพ้ผิวหนัง แพ้น้ำลายหมัด อาการคันจากโรคไรขี้เรื้อนแห้ง ฯลฯ

ออกฤทธิ์เร็ว
ปลอดภัย
กลไกการ
ออกฤทธิ์ต่างจาก
สเตียรอยด์

ยากลุ่มอื่นๆ

กลุ่ม cyclosporine รูปแบบยาเม็ดแคปซูล

ยาเม็ดแคปซูล

ยาเม็ดแคปซูล

ข้อดี
ได้ผลดีกับโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis)
ข้อควรระวัง
ใช้เวลานานกว่าจะออกฤทธิ์ และมีแนวโน้มก่อให้เกิดอาการอาเจียนและกดภูมิคุ้มกัน

จัดเป็นยากดภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่ง จึงเหมาะกับการรักษาโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง (autoimmune diseases) ใช้ได้ผลดีกับโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) และไม่ส่งผลกระทบต่อต่อมหมวกไต แม้ใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานก็ตาม แต่อาจต้องใช้ระยะเวลากว่า 1 เดือน จึงจะเห็นผลลดอาการคัน รวมทั้งอาจทำให้เกิดอาการอาเจียนและท้องเสียได้

กลุ่ม interferon gamma สำหรับสุนัข รูปแบบยาฉีด

ยาฉีด

ยาฉีด

ข้อดี
ผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย
ข้อควรระวัง
ใช้เวลานานกว่าจะออกฤทธิ์

ได้ผลดีกับโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) ผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย มีความปลอดภัยสูง แต่ใช้เวลานานกว่าจะออกฤทธิ์ เนื่องจากเป็นยาฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง

แชมพูยา สำหรับสุนัข

แชมพูยา

แชมพูยา

ข้อดี
ช่วยทำความสะอาดและบำรุงผิวหนัง
ข้อควรระวัง
ใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลในการลดอาการคัน

แนะนำในสุนัขที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) เนื่องจากการทำความสะอาดผิวหนังจะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาสัตวแพทย์ในการเลือกชนิดแชมพูให้เหมาะสมกับสุนัข เช่น สุนัขผิวแห้ง ควรใช้แชมพูที่เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว สุนัขที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ควรเลือกแชมพูที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ เป็นต้น